สาเหตุของ ปากนกกระจอก พร้อมวิธีการรักษา ทำได้ไม่ยาก


บทความน่ารู้
20 ธันวาคม 2565

ปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอก คือภาวะอักเสบบริเวณมุมปาก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าอาการปากนกกระจอกจะไม่ได้มีความร้ายแรงหรือมีความรุนแรงมากมาย สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ควรมองข้ามอาการนี้ เพราะปากนกกระจอกสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะความผิดปกติที่ริมฝีปากและสุขภาพในช่องปาก หากปล่อยไว้ไม่ดูแลรักษา ก็อาจนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ 

อ่านเพิ่มเติม : สงสัยมั้ย ตุ่มใสในปาก เกิดขึ้นได้อย่างไรและอันตรายหรือไม่

 


 

ปากนกกระจอก มีสาเหตุมาจากอะไร

เนื่องจากปากนกกระจอก เป็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณมุมปาก ดังนั้นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้จึงมาจากสุขภาพปากเป็นหลัก โดยสาเหตุที่พบบ่อยจะมีดังต่อไปนี้
  • เชื้อราที่ผิวหนัง สำหรับเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอกก็คือเชื้อราแคนดิดา เป็นเชื้อราที่พบตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ช่องปาก ช่องคลอด หรือผิวหนังบริเวณที่อับชื้น เช่น มุมปาก ขาหนีบ เป็นต้น นอกจากนี้เชื้อราแคนดิดายังเป็นเชื้อราชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็ก
  • น้ำลาย สำหรับคนที่ชอบเลียปาก มักจะเป็นโรคปากนกกระจอกมากกว่าคนทั่วไป เพราะปากนกกระจอกเกิดจากน้ำลายที่หมักหมมอยู่มุมปาก ทำให้ปากเกิดการแห้งแตก เมื่อมีการเลียปากหรือมุมปาก ก็จะทำให้ปากเกิดเป็นแผล ถ้าไม่รีบรักษาก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ เกิดเป็นผื่น และเกิดการระคายเคืองได้ 
  • ติดเชื้อที่ปาก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอกบ่อยไม่แพ้กับสาเหตุอื่น โดยหากคนที่ติดเชื้อที่ปากอยู่ก่อนแล้วได้รับการกระตุ้นจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือโรคเริมเพิ่มเติม ก็จะทำให้เกิดเป็นแผลที่มุมปากพร้อมกับเกิดการอักเสบ 
  • มุมปากตก เป็นผลมาจากการที่ริมฝีปากบนคร่อมริมฝีปากล่างมากเกินไป  หรืออาจเกิดจากผิวหนังรอบปากตกและห้อยลงมา ทำให้เกิดรอยย่นที่มุมปากลึก ส่งผลให้เกิดการหมักหมมของน้ำลายและเชื้อรา 
  • ปากแห้งแตก สาเหตุนี้ถือว่าเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดปากนกกระจอกเลยทีเดียว เพราะเมื่อใดก็ตามที่ปากมีอาการแห้งแตก ก็มักจะมีการเกิดแผลที่มุมปาก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษา ก็จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมา 
  • การจัดฟัน เพราะการจัดฟันจะต้องมีการใส่ยางสำหรับจัดฟันเอาไว้ เพื่อช่วยให้ฟันเรียงกันสวยงาม แต่การใส่ยางจัดฟันก็ทำให้คนที่จัดมีน้ำลายหมักหมมอยู่ที่มุมปาก ทำให้อาจเป็นโรคปากนกกระจอกได้ 
  • กลุ่มโรคอักเสบระบบทางเดินอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆเช่นลำไส้อักเสบ โรคโครห์น มีโอกาสเป็นโรคปากนกกระจอกมากกว่าคนทั่วไป  เพราะโรคต่างๆเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายโดยตรง
  • ผิวแพ้ง่าย คนที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย มีโอกาสที่จะเป็นโรคปากนกกระจอกสูง เพราะภูมิต้านทานโรคทางผิวหนังต่ำกว่าคนปกติ ถ้าหากป่วยเป็นโรคผื่น โรคหรือภูมิแพ้ผิวหนังก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคปากนกกระจอกได้สูง 
  • ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดขึ้นได้กับคนที่ขาดวิตามินบี 2 หรือธาตุเหล็ก เพราะคนที่ขาดสารอาหารทั้งสองอย่างนี้ จะมีริมฝีปากแห้งแตก เกิดการระคายเคือง จนทำให้มุมปากซีด เป็นรอย เป็นแผลที่มุมปาก
  • โรคโลหิตจาง เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นโรคปากนกกระจอก เพราะโรคโลหิตจางจะทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ทำให้เกิดภาวะซีด ปากแห้งแตก นอกจากนี้คนที่เป็นโรคอย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคตับ โรคปอด ก็มีโอกาสเป็นโรคปากนกกระจอกได้เช่นเดียวกัน 

อ่านเพิ่มเติม : มาดู สียางมงคล สำหรับคนจัดฟันในปี 2566 ที่จะถึงกันดีกว่า


อาการของ ปากนกกระจอก

สำหรับอาการปากนกกระจอก ในช่วงแรกจะมีการระคายเคืองที่มุมปาก จากนั้นจะเริ่มเจ็บปากและปวดแสบปวดร้อนตรงมุมปาก ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นที่มุมปากได้ทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง แต่ความหนักของอาการจะมีความหนักแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในส่วนของอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆนอกเหนือจากการระคายเคืองจะมีดังนี้
  • มีรอยแดงและมีเลือดออกที่มุมปาก ถ้ามีการเกาที่แผล เลือดก็จะยิ่งไหลและยิ่งทำให้แผลหายช้ากว่าเดิม
  • เกิดอาการคันและแสบที่มุมปากตลอดเวลา และมักจะเจ็บมากในตอนอ้าปาก เพราะช่วงที่อ้าปาก แผลจะถูกเปิดออก ซึ่งอาการนี้ก็ส่งผลกระทบตอนทานอาหารเป็นอย่างมาก
  • มุมปากซีด เปื่อยยุ่ย เป็นผลมาจากเชื้อราที่เกาะอยู่มุมปาก พร้อมกับน้ำลายที่หมักหมมอยู่มุมปาก เมื่อสะสมนานวันเข้าก็จะทำให้มุมปากเกิดการซีด และเปื่อยยุ่ย  
  • มีตุ่มพองใสที่มุมปาก สำหรับคนที่อาการหนัก จะเป็นแผลและมีของเหลวไหลออกมา หรือเกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก ซึ่งอาการเหล่านี้ก็สามารถสังเกตได้ง่าย 
  • เกิดการบวมบริเวณมุมปาก แม้การบวมจะไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าไม่มีการดูแลรักษา ปล่อยให้แผลติดเชื้อและลุกลาม ก็มีโอกาสที่จะเกิดการบวม จนอาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ 
 
 
วิธีการรักษาปากนกกระจอก เลือกใช้ลิปออแกนิค บำรุงปาก
 
แม้อาการปากนกกระจอกจะสร้างความรำคาญและสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก แต่ปากนกกระจอกรักษาได้ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ 
  1. รักษาด้วยยาต้านเชื้อรา สำหรับยาต้านเชื้อราที่สามารถใช้รักษาปากนกกระจอกได้ก็คือยา ไมโครนาโซล ไนสแตนดิน โคลไตรมาโซล คีโตโคนาโซล เป็นต้น
  2. รักษาด้วยยาต้านแบคทีเรีย โดยปากนกกระจอกวิธีรักษาที่ใช้ได้ผล ก็คือการใช้ยาต้านแบคทีเรีย เช่น มิวพิโรซิน กรดฟูซิดิก เป็นต้น 
  3. รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 2 และธาตุเหล็ก เพราะวิตามินบี 2 และธาตุเหล็กจะช่วยรักษาและป้องกันปากนกกระจอกได้ สำหรับอาหารที่มีวิตามินบีและธาตุเหล็กก็จะมี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ธัญพืช เป็นต้น 
  4. หลีกเลี่ยงการเลียปาก แม้จะรู้ว่าปากแห้งไม่มีความชุ่มชื้น ก็ไม่ควรที่จะเลียปาก เพราะการเลียปากทำให้เกิดการอักเสบของแผล ทำให้แผลติดเชื้อ ส่งผลให้แผลหายช้ากว่าเดิม 
  5. ใช้ลิปเพื่อให้ความชุ่มชื้น อีกหนึ่งวิธีการรักษาปากนกกระจอกที่ได้ผล เพราะลิปบำรุงจะช่วยคืนความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปากและมุมปาก ช่วยป้องกันปากแห้งแตก ป้องกันการระคายเคือง และยังทำให้ปากมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา 
สำหรับใครที่มองหาผลิตภัณฑ์บำรุงความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปาก เราขอแนะนำ ลิปบำรุงปากของทาง Medent เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาโรคปากนกกระจอก แก้ปากแห้ง แตก หมองคล้ำ โดยในผลิตภัณฑ์จะมีส่วนผสมที่ได้จากธรรมชาติหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Aloe Butter ที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ที่ผิวและริมฝีปาก Coconut Oil ที่ช่วยลดการอักเสบของผิว Vitamin C ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ป้องกันการแห้งแตกบริเวณริมฝีปากได้เป็นอย่างดี ใครมีความต้องการอยากได้ไปใช้ สามารถหาซื้อได้ที่หน้าเว็บไซต์ และหากใครที่สนใจผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากและฟันของทาง Medent สามารถเข้าไปสั่งซื้อได้ที่ MedentThailand  หรือ Shopee  ฯลฯ มีที่ไหนบ้างที่มีขาย คลิกเช็คเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเลือก ขนแปรงสีฟันเด็กทารก ให้เหมาะสมตามช่วงอายุ เด็กควรใช้ขนแปลงแบบไหนดี

การแปรงฟัน มีจุดประสงค์ก็เพื่อรักษาความสะอาดของช่องปาก สร้างความแข็งแรงให้เหงือกและฟัน ซอกซอนทำความสะอาดเศษอาหาร ป้องกันการเกิดแบคทีเรียในช่องปาก ส่งผลให้เกิดคราบหินปูนและปัญหากลิ่นปากได้ เราเรียนรู้วิธีการแปรงฟันมาตั้งแต่เด็กๆ คุณพ่อคุณแม่แปร...

มดขึ้นแปรงสีฟัน ทำอย่างไรดี สาเหตุที่ มดขึ้นแปรงสีฟันเกิดจากอะไร

มดขึ้นแปรงสีฟัน เคยไหม ? กำลังจะแปรงฟันแต่ต้องหยุดชะงัก เมื่อเหลือบไปเห็นเจ้ามดตัวเล็กตัวน้อยหลาย ๆ ตัวกำลังไต่อยู่บนแปรงสีฟันอันโปรด เชื่อว่าทุกคนคงคิดเหมือนกันว่าตัวเองป่วยเป็นเบาหวานหรือเ...

4 สัญญาณอันตรายได้เวลารักษารากฟัน 

4 สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจจะถึงเวลาที่ต้องรักษารากฟันกันแล้วล่ะค่ะ ...


บริษัท มีดี ไชน์ จำกัด ซอย รามอินทรา 40 แยก 8 แขวง นวลจันทร์ เขต บึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร